พระเครื่องทั้งหมด 465 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
   ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (49) พระเนื้อดิน (29) พระเนื้อชิน (4) พระเนื้อผง (0) พระกริ่ง (0) พระรูปหล่อ (17) พระเหรียญ (60) เหรียญหล่อ (38) พระปิดตา (0) พระบูชา (0) เครื่องราง (31)
   เมนูช่วยเหลือ
วิธีการชำระเงิน
เงื่อนไขการรับประกัน
ติดต่อเรา
   สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 465 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 228 ชิ้น
   บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
  รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
  ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย
หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม
หลวงปู่สวน วัดนาอุดม
หลวงปู่หมุน วัดเขาแดงตะวันตก
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
หลวงพ่อนก วัดสังกะสี
หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
ครูบาหล้า วัดป่าตึง
พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์
หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง
หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


พระเครื่องทามอมูเล็ตดอทคอม

มาดูพระดอทคอม

พระหลวงตา

ตือ (เจริญ) ท่าพระจันทร์

แป๊ะ บางกะพร้อม

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) / ผู้เข้าชม : 8766 คน
สมเด็จพระอริยวาศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศน์เทพวราราม

          สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์เทพวราราม พระนามเดิมว่า แพ พระนามฉายาว่าติสฺสเทว ประสูติในรัชกาลที่ 4 เมื่อ ณ วันพุธ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรงจุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 บิดาชื่ออ้น เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 7 คน คือ 1. นางคล้าย 2. สมเด็จพระสังฆราช 3. หลวงพุทธพันธ์พิทักษ์ (อยู่) 4. นางทองคำ 6. นายชื่น 7. นายใหญ่ ยังมีชีวิตอยู่เวลานี้คนเดียวคือ นางทองคำ พงษ์ปาละ อายุ 83 ปี เมื่อชนมายุได้ 7 ขวบ ได้ไปศึกษาอักษรสมัยอยู่ที่วัดทองนพคุณ ครั้นชนมายุได้ 13 ปี จึงพาไปถวายเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) เมื่อท่านยังเป็นพระธรรมวโรดม มาอยู่วัดราชบูรณะ ท่านจึงให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีมะโรงพศ.2411 แล้วกลับไปเล่าเรียนอยู่วัด ทองนพคุณตามเดิมได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอาจารย์โพ วัดเศวตรฉัตร

          ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อชนมายุได้ 16 ปีสมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์ได้รับมาอยู่กับท่านที่วัดพระเชตุพน ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระวันรัตสมบรูณ์เป็นพื้น นอกจากนั้น ได้เล่าเรียนกับเสมียนตราสุขบ้าง พระโหราธิบดี ชุ่ม บ้าง พระอาจารย์โพลบ้าง ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรกที่พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 แต่แปลตกหาได้เป็นเปรียญไม่

          เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 อายุครบอุปสมบท แต่สมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์อาพาธต้องอยู่ประจำ รักษาพยาบาล จึงมิได้มีโอกาสอุปสมบท และเมื่อสมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์ใกล้ถึงมรณภาพนั้น ท่านแนะนำให้ไปอยู่เป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตแดง วัดสุทัศน์ แต่เมื่อยังเป็นพระเทพเทวี ครั้นสมเด็จพระวันรัตสมบรูณ์มรณภาพแล้ว จึงไปถวายตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตแดง แล้วไปอุปสมบทที่วัดเสวตรฉัตรอยู่ใกล้บ้านเดิม เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2422 สมเด็จพระวันรัตแดง เมื่อยังเป็นพระเทพกวีเป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ชุ่ม วัดทองนพคุณ และพระอาจารย์โพ วัดเสวตรฉัตรเป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์กับสมเด็จพระวันรัตแดงต่อมา ในตอนนี้ได้เล่าเรียนกับสมเด็จพระวันรัตแดงเป็นพื้น และได้เรียนกับสมเด็จพระสังฆราชสา ที่วัดราชประดิษฐ์บ้าง

          เมื่อสมเด็จพระวันรัตแดงเลื่อนเป็นพระธรรมวโรดม ได้ตั้งให้ท่านเป็นพระครูใบฎีกา ในถานานุกรมตำแหน่งนั้นแล้วเลื่อนเป็นพระครูมงคลวิลาส และพระครูวินัยธร เมื่อเป็นพระครูวินัยงธรได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 2 ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ได้เป็นเปรียญ 4 ประโยค ต่อมาถึงปีระกา พ.ศ. 2428 เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 3 ที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แปลได้อีกประโยคหนึ่ง รวมเป็น 5 ประโยค

          ถึงปีฉลู พ.ศ. 2432 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีสมโพธิ์ ถึงปีวอก พ.ศ. 2439 เมื่อวันในรัชกาลแห่งสมเด็จ บรมบพิตรที่ 5 ครบหมื่นวัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม พระราชทาน ตาลปัตรแฉกประดับพลอยและเพิ่มนิตยภัตร ในคราวเดียวกันกับที่ได้โปรดให้พระธรรมวโรดม แสง วัดราชบูรณะเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

          ถึงปีจอ พ.ศ.2441 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพโมลี มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้ให้เลื่อนพระศรีสมโพธิ์เป็นพระเทพโพลี ตรีปฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆราม คามวสี สถิตย์ ณ วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมมหาวิหาร พระอารามหลวง มีนิตรยภัตรเดือนละ 4 ตำลึงกึ่ง มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ 4 รูป คือ พระครูปลัด 1 พระครูสังฆวิชิต 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1

ดำรงตำแหน่งพระธรรมโกศาจารย์ ปี 2443

          ต่อมาถึงปีชวด พ.ศ.2443 โปรดให้เลื่อนเป็นที่พระธรรมโกศาจารย์ มีสำเนาประกาศทรงตั้งดังนี้อนึ่ง พระราชาคณะที่มีความรอบรู้ พระปริยัติธรรมปรากฏในสังฆมณฑล สมควรจะเลื่อนอิศริยยศในสมณศักดิ์ และพระสงฆ์ที่ทรงสมณคุณควรจะเป็นพระครูอีกหลายรูป

          จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเทพโมลี เป็นพระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณนายกตรีปิฏกมุนี มหาคณาบดีสมณิศร บวรสังฆาราม คามวสี สถิตย์ ณ วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตร เดือนละ 5 ตำลึง มีถานานุศักดิ์ ควรตั้งถานานุกรมได้ 6 รูป คือ

พระครูปลัด มีนิตยภัตรราราคาเดือนละ 1 ตำลึง 1 
พระครูวินัยธร 1 
พระครูธรรมธร 1 
พระครูสังฆพินัย 1 
พระครูสมุห์ 1 
พระครูใบฎีกา 1

ดำรงตำแหน่งพระพรหมมุนี ปี 2455

          ถึงรัชกาลที่ 6 พระราชทานหิรัญญับฎ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระพรหมุนี เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 มีสำเนาประกาศดังนี้ ศุภมัสดุ ฯลฯ (ลงวันอาทิตย์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12 ปีชวด วันที่ 10 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 131) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯลฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า พระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครไชยศรี เป็นเปรียญทรงพระปริยัติธรรม มีปฏิบัติอันงามนำให้เกิดความเลื่อมใสของพุทธบริษัททั่วไป ได้เป็นภาระธุระแก่พระศาสนา เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าอาวาส ทำนุบำรุงวัดสุทัศน์เทพวรารามให้จำเริญโดยลำดับมา บริหารรักษาพระสงฆ์เรียบร้อยดีในฝ่ายปริยัติ ได้เป็นผู้จัดการเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดสุทัศน์เทพวราราม อันเป็นศึกษาสถานใหญ่ตำบลหนึ่ง เมื่อถึงคราวสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ได้เป็นกรรมการการสอบด้วยรูปหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงหยั่งทราบคุณสมบัติของพระธรรมโกศาจารย์มาแต่เดิม จึงได้ทรงยกย่องใน ตำแหน่งพิเศษ พระราชทานตาลิปัตรฉแกประดับพลอยให้ถือ มีพระเกียรติยศเสมอพระราชาคณะชั้นเทพแต่ครั้งยังเป็น พระศรีสมโพธิ์ เมื่อคราวจัดคณะสงฆ์ในมณฑลหัวเมือง ได้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครไชยศรี ก็มีน้ำใจเห็นแก่ พระพุทธศาสนา บริหารคณะมณฑลมาโดยเรียบร้อยจนทุกวันนี้ ครั้งถึงแผ่นดินปัจจุบัน ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นสมเด็จพระมหาสมณะเป็นประธานแห่งสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร พระธรรมโกศาจารย์ก็ได้เป็น กำลังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอด้วยรูปหนึ่ง ในการบริหารคณะสงฆ์ เมื่อควรจัดคณะกลางในกรุงเทพฯ พระธรรมโกศาจารย์ ก็ได้รับตำแหน่งในหน้าที่เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวงสำเพ็ง จัดการปกครองในเข้าระเบียบเป็นอันดี พระธรรมโกศาจารย์ มีอัธยาศัยเห็นแก่พุทธศาสนา เป็นภาระธุระในกรณียกิจนั้นๆ โดยลำดับมาฉะนี้ ในเวลานี้มีพรรษายุกาลจัดว่าเป็นผู้ใหญ่ และเป็นหลักอยู่รูปหนึ่งในคณะสงฆ์ สมควรจะสถาปนายกย่องให้ดำรงสมณศักดิ์สูงขึ้นไป จะได้เป็นศรีแก่พระพุทธศาสนา

          จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาพระธรรมโกศาสจารย์ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ชั้นเจ้าคณะรอง มีนามจารึก ในหรัญญบัฏว่าพระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฏกธรรลังการวิภูษิต มัชฌิมคณิศร บวรสังฆมรามคามวสี สังฆนายก เจ้าคณะรองคณะกลาง สถิตย์ ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมมหาวิหาร พระอารามหลวงมีนิตยภัตรราคาเดือนละ 32 บาท มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ 8 รูป คือ

 พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ สมบูรฯสมาจารวัตรมัชฌิมสังฆนายกธุระวาหะ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ 8 บาท 1 
พระครูวินัยธร 1 
พระครูธรรมธร 1 
พระครูพุทธพากย์ประกาศ 1 
พระครูธรรมสาสน์อุโฆษ 1 
พระครูสังฆบริหาร 1 
พระครูสมุห์ 1 
พระครูใบฎีกา 1

ดำรงตำแหน่งพระวันรัต ปี 2472

ครั้นถึงรัชกาลที่ 7 ได้ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต มีสำเนาประกาศดังนี้

          ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค 2472 พรรษา ปัจจุบันสมัย สรรปสมพัตราสร กุมพาพันธมาส จตุรวิงศ์สุรทิน จันทรวารโดยกาลปริเฉท

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า ฐานนันดรศักดิ์เจ้าคณะใหญ่หนใต้ อันเป็นตำแหน่งสำคัญในพระมหาเถรสมาคมยังว่างอยู่ สมควรจะยกพระมหาเถรเจ้า ผู้ถึงพร้อมด้วยสมณคุณขึ้นสถิตย์ในสมณศักดิ์ และสถาปนา สมณฐานันดรเจ้าคณะอนุกรมตามตำแหน่ง เพื่อจะได้แบ่งภาระช่วยกันประกอบศาสนกิจ ให้สำเร็จประโยชน์แก่บรรพชิตแลคฤหัสถ์ตามสามารถ

          ทรงพระราชดำริห์ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี ประกอบด้วยคุณธรรม อนันตโกศล วิมลปฏิภาณญาณปรีชา ดำเนิรในสัมมาปฏิบัติ ทรงสมณคุณพหุลกิจปรหิตจรรยา แจ้งอยู่ในประกาศสถาปนาเป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เมื่อพระพุทธศาสนายุกาล 2466 พรรษานั้นแล้ว บัดนี้ก็เจริญด้วยชนมายุกาลรัตตัญญภาพ เป็นผู้ทราบประจักษ์แจ้งใน ธรรมเนียม ประเพณีสงฆ์ทั้งปวงแต่กาลนาน มีพรหมจริยาวัตรศีลสมาจารย์เรียบร้อยสมบูรณ์ บริสุทธิ์ ควรนับเป็นสุดพุทธมุนีศาสนาภิรัตมีอัธยาศัยศรัยหนักน้อมไปในทางพระพุทธศาสนา ยั่งยืนในจารีตสมณวงศ์ เป็นหลักเป็นประธานสงฆ์คณะมหานิกาย ยากที่จะมีผู้เสมอเหมือน ทั้งตั้งอยู่ในตำแหน่งพระราชาคณะมานานถึง 40 ปี สถิตย์ในมหาเถรธรรมราศี เป็นครุภาวนีย- สถาน แห่งสงฆ์อันพิเศษ เป็นเหตุให้ถึงอปริหานิยธรรมสมควร เป็นทักษิณมหาคณิศวรจารย์ ราชาคณะผู้ใหญ่ มีอิศริยยศยิ่งกว่าสมณนิกรคามวาสีและอรัญวาสีหนใต้ทั้งปวง

จึ่งมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะทักษิณคณิศวราธิยติ มีพระราชทินนามตามจารึกในสุบรรณบัฎว่า สมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปรินายก ตรีปิฎกโกศลวิมลคัมภีร์ญาณสุนทร มหาทักษิคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงเจ้าคณะใหญ่หนใต้ มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ 10 รูป คือ

พระครูปลัดสัมพิพัฒนสุตาจารย์ ญาณโกศลสกลคณินทร ทักษิณสังฆนายก ปิฏกธรรมรักขิต 1 พระครูวินัยธร 1 
พระครูธรรมธร 1 
พระครูพรหมศร พระครูคู่สวด 1 
พระครูอมรศัพท์ พระครูคู่สวด 1 
พระครูธรรมคุต 1 
พระครูพุทธบาล 1 
พระครูสังฆกิจจารักษ์ 1 
พระครูสมุห์ 1 
พระครูใบฎีกา 1

พระปรีชาญาณ

          หลังจากที่ได้รับสุพรรณบัฎเป็นสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่หนใต้ แต่ พ.ศ. 2472 มาได้ปกครองคณะสงฆ์ให้เจริญเรียบร้อยก้าวหน้า มาโดยลำดับมิได้ระส่ำระส่าย เป็นไปในทางวิวัฒนาการผู้อยู่ในบังคับบัญชาก็ได้รับความผาสุกสำราญชื่นชมยินดี ความคิดขัดแม้อาจมี ก็ระงับได้ด้วยสุขุมปรีชาเป็นที่พำนักปรึกษาของเจ้าคณะซึ่งมีความข้องใจในการบริหาร ชี้แจงนโยบายการบริบาลคณะสงฆ์โดยสันติวิธี เป็นที่นิยมยินดีของพุทธบริษัททั่วไป

          การปกครองคณะสงฆ์ร่วมในจังหวัดพระนครนั้นเล่า ตั้งแต่แรกเริ่มจัดระเบียบเข้าสุ่ระบอบใหม่ในทำนองการคณะแขวงสมเด็จฯก็ได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะแขวงดำรงตำแหน่งแต่เดิมมา ครั้งก่อนเรียกว่าแขวงสำเพ็ง ครั้งยุคต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นคณะแขวงนอกจังหวัดพระนคร ในคราวที่ ฝ่ายอาณาจักรโอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นจังหวัดพระนครก็ดี ในคราวที่ทางราชการยุบสถานะจังหวัดมินบุรี อำเภอต่างๆ ในจังหวัดนั้น คือ อำเภอมินบุรี อำเภอบางกะปิ อำเภอลาดกระบัง อำเภอหนองจอก ก็โอนมาขึ้นในจังหวัดพระนคร การคณะสงฆ์ในอำเภอนั้นๆ ทั้งหมดก็โอนมา ขึ้นกับคณะแขวงนอก จังหวัดพระนคร ต้องเพิ่มภาระในการปกครองขึ้นอีกมาก กระนั้นก็สู้บั่นบากควบคุมการคณะให้เรียบร้อยเจริญดีเป็นลำดับ มาในด้านการศึกษาก็ได้ เพาะปลูกพระภิกษุสามเณรปสาทะนิยมโดยแนะนำให้เกิดอุตสาหะในการเรียนการสอน เมื่อการศึกษาแพร่หลายดี จึงได้ขอให้ทางการเปิดสถานที่ทำการสอบความรู้นักธรรมขึ้น เป็นประจำในอำเภอนั้นๆ จนเป็นปึกแผ่นแน่นหนาถาวรมาจนถึงยุคนี้ ถึงพ.ศ.2479 เมื่อตำแหน่งปลัดแขวงในพระนครว่างลง สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธจึงได้มีพระบัญชาให้ย้ายท่านเข้ามาเป็นปลัด คณะแขวงในพระนคร ท่านได้ทำการในหน้าที่เรียบร้อยตลอดมา

          ในส่วนพระปริยัติธรรม ท่านได้รับหน้าที่เป็นแม่กองสนามหลวงฝ่ายบาลีทำการสอบความรู้พระปริยัติธรรมพระภิกษุสามาเณร ในพระราช อาณาจักร ตั้งแต่ พ.ศ.2471-2474 รวม 4 ศก การปฏิบัติหน้าที่ในส่วนแม่กองนี้ ดำเนินไปโดยเรียบร้อยเป็นลำดับมามิได้บกพร่อง

          ในส่วนมหาเถรสมาคม ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการด้วยรูปหนึ่งตั้งแต่เดิมมา ได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ในฐานแห่งกรรมการ เป็นอันดีมิบกพร่องอุดมคติเป็นไปในทำนองเบภุยยสิกาวาท ในเบื้องต้นจะวิปลาสด้วยมติที่ผิดแผกแยกกันไปก็มิได้ยึดถือ ข้อที่มุ่งหมาย เป็นสำคัญก็คือถือมติส่วนรวมโดนมานฉันท์ มิใจมั่นอยู่ด้วยสามัคคี เพราะยึด อุดมคติเช่นนี้ จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพในมหาเถรสมาคม กอปรทั้งที่ท่านสมบูรณ์ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิเป็นที่สุดในเถรสมาคม จึ่งเป็นที่นิยมนับถือในฐานเป็นประมุขสงฆ์มหานิกายและในคณะ มหานิกายนั้นไซร้ เมื่อเกินมีอุปสรรคอันใดเข้ามาขัดขวางก็ได้ท่านเป็นที่ปรึกษาหาทางที่จะหลีกลัดเข้าสู่สันติวิธี เมื่อมานึกสามัญชน ผู้มีอายุผ่านวัยมาถึงปูนนี้ ก็น่าที่จะปลีกตนมาประกอบเอกีภาวสุขโดยลำพัง แต่สมเด็จ ฯ ยังบากบั่นด้วยปรหิตสมบัติอันกระตุ้นเตือน มิให้อยู่นิ่ง มิได้ถือเอาชราภาพนั้นเป็นสิ่งกีดขวางการพระศาสนา ปฏิปทาและคุณูปการของท่านเพียบเพ็ญด้วยศาสนกิจเช่นนี้ จึงเป็นมูลัฏฐาปนีย์ที่เด่นเป็นมิ่งขวัญของคณะสงฆ์

ดำรงตำแหน่งพระสังฆราช ปี 2481

          ครั้นถึงรัชกาลปัจจุบัน เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบพิชสิ้นพระชนม์ลง ประจวบกับสมเด็จพระจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จกลับ จากยุโรป เข้ามาเยี่ยมพระมหานคร ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระราชทานตาลิปัตรแฉกประจำตำแหน่ง ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและประกาศตั้นในราชกิจจานุเบกษา ปรากฏในสำเนาดังต่อไปนี้

ประกาศสถาปนา

สมเด็จพระพระวันรัต ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช

          โดยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวง ชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายก ปธานาธิบดีสงฆ์ สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้ว เป็นการสมควรที่จะสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชขึ้นสนองพระองค์ต่อไป

          และโดยที่สมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์เทพวราราม เจ้าคณะใหญ่หนใต้ มีคุณูปการในทางศาสนกิจ สมควรจะดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชได้

          คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงให้ประกาศสถาปนา สมเด็จพระวันรัต ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายก ปธานาธิบดี สงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักรสืบไป

ประกาศมา ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2481 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ 
พ.อ. พหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี

          แล้วทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกต่อประมุขสงฆ์ มีองค์พระสังฆราชเป็นประธานครั้นถึงสมัยมงคลกาลเฉลิมพระ ชนมพรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2482 จึงเป็นพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย มีคำประกาศต่อไปนี้

ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์

          ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)

อาทิตย์ทิพอาภา 
พล.อ. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน

          โดยที่เห็นว่าสมเด็จพระสังฆราช ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมเอนกประการ อาทิ เจริญพรรษายุกาลรัตนมหาเถรธรรม สุขุมคัมภีรญาณปรีชาสามารถ ถึงพร้อมด้วยสมณคุณพรหมจริยวัตรศีลสมาจารบริสุทธิ์ ประกอบพุทธศาสนกิจ เป็นหิตานุหิต ประโยชน์อันไพศาลแก่พุทธบริษัทมีคุณสมบัติเป็นเอนกนัย ดังปรากฏเกียรติคุณตามประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เมื่อพุทธศักราช 2472 แล้วนั้น

          ครั้นต่อมาก็ยิ่งเจริญด้วยอุสาหวิริยาธิคุณสามารถประกอบการศาสนกิจให้เจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับมา ได้รับภาระปกครอง คณะสงฆ์ โดยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง นอก จังหวัดพระนคร และปลัดคณะแขวงใน จังหวัดพระนคร บริหารคณะสงฆ์ใน การปกครองโดยเรียบร้อยวิวัฒนาการ ทั้งในการศึกษาและพระปริยัติธรรมก็ได้จัดการให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นถาวร ด้วยสุขุมปรีชาญาณ มีนโยบายการบริหารด้วยสันติวิธี เป็นที่นิยมยินดีของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ในมหาเถรสมาคม ก็ปฏิบัติการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี มิบกพร่อง โดยอุดมคติเป็นไปในทำนองเยภุยยสิกา เป็นที่เคารพ ในมหาเถรสมาคม ประกอบทั้งสมบูรณ์ด้วยวัยวุฒิคุณวุฒิเป็นที่สุดในมหาเถรสมาคม จึงเป็นที่นิยมชมชื่นทั้งในฐานที่เป็น พระมหาเถระและเป็นประมุขสงฆ์คณะมหานิกาย ด้วยคุณูปการในทางศาสนกิจอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ จึงได้ประกาศสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายก ปธานาธิบดีสงฆมลฑลทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2481

          ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อประกอบพระราชพิธีถวายพระองค์เป็นพุทธมามกะก็ได้ทรงเป็นพุทธมามกาจารย์ และถวายโอวาท เป็นเครื่องเจริญพระราชศรัทธาประสาทเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบัดนี้จวนมงคลสมัยเฉลิมพระชนพรราษา สมควรสถาปนา สมณฐานันดรศักดิ์ให้เต็มตามราชประเพณีเป็นปรากฏเกียรติยศคุณสืบไป คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จึงให้เฉลิมพระนามสมเด็จ พระสังฆราช ตามที่จารึกในสุพรรรบัฏว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสุขุมธานธำรง สกลสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุศโลภาศ อานันทมหาราชพุทธมามกาจารย์ ติสฺสเทวา ภิธานสังฆวิสสุต ปาวจนุตตมโศภณ วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคาราว- สถาน วิจิตรปฏิภาณ พัฒนคุณ อดุลคัมภีรญาณสุมทร บวรสังฆาราม คามวาสี เสด็จสถิตยณวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรามหาวิหาร พระอารามหลวง มีฐานานุศักดิ์ ควรทรงตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป คือ

พระครูมหาคณานุสิชฌน์ สังฆอิสริยาลังการ วิจารณโกศล วิมลสังฆนายก ปิฏกธรรมรักขิต พระครูปลัดขวา 1 
พระครูจุลคณานุสาสน์ วิจารโณถาศภาคยคุณ สุนทรสังฆมนุคุตติ วิสุทธิสังฆนายก ปิฏกธรรมรักขิต พระครูปลัดซ้าย 1 
พระครูธรรมกถาสุนทร 1 
พระครูวินัยกรณ์โสภณ 1 
พระครูพรหมวิหาร พระครูปริตร 1 
พระครูญาณวิสุทธิ์ พระครูปริตร 1 
พระครูวินัยธร 1 
พระครูธรรมธร 1 
พระครูวิมลสรภาณ พระครูคู่สวด 1 
พระครูพิศาลสรคุณ พระครูคู่สวด 1 
พระครูบุลบรรณวัตร 1 
พระครูสังฆบริการ 1 
พระครูสมุห์ 1 
พระครูใบฎีกา 1

          ขออาราธนาพระคุณผู้ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณฐานันดร เพิ่มอิศริยยศในครั้งนี้จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุ สามเณร ในคณะและในพระอาราม ตามสมควรแก่กำลังและอิศริยยศที่พระราชทานนี้ และขอจง เจริญ อายุ วรรณะ สุขะ พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิจิรัฏฐิติวิรุฬหิ ไพบูลย์ในรพะพุทธศาสนา เทอญฯ

ประกาศมา ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2482 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ 
พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี

          เจ้าพนักงานได้เชิญพระสุพรรณบัฏไปส่งที่วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 เวลา 14 นาฬิกา กับ 14 นาที มีพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาพร้อมกับยกเสวตรฉัตรแล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชพระสุพรรณบัฎในวันนั้น เวลา 17 นาฬิกา พระสงฆ์ 10 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถ รุ่งขึ้น วันที่ 29 กันยายน เวลา 11 นาฬิกา พระสังฆ์รับพระราชทานฉันอาหารบิณฑบาต แล้วเจาพนักงานตั้งบายศรีและแว่นเดชทียน สมโภชพระสุพรรณบัฎแล้วเป็นเสร็จการ

          จำเดิมแต่พระองค์ได้ดำรงดำแหน่งสกลกสังฆปรินายก สืบสนองพระองค์จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธเป็นต้นมา แม้จะทรงพระชราภาพมากแล้วก็ตาม ก็ได้ยังความเจริญร่มเย็นเป็นสุข ให้บังเกิดแก่สงฆมณฑลเป็นเอนกประการ โดยที่ทรงพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีภาพในศาสโนบายวิธี เมื่อทรงเห็นว่าจะไม่สามารถปกครองสงฆมณฑลได้สัมฤทธิผล ได้ดังพระราชประสงค์ จึงทรงพระกรุณาตั้งคณะบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์ขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินศาสนากิจให้ลุล่วงไป ด้วยความสวัสดีตลอดมา จวบจนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2484 รัฐบาลได้ประกาศ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ออกใช้เป็นกฏหมาย เพื่อประสานนโยบายฝ่ายพุทธจักรกับอาณาจักรให้อนุรูปกัน ในฐานแห่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายกในระบอบใหม่นี้ จึงมีพระบัญชาให้เปิดประชุมสมัยสามัญแห่งสังฆสภาขึ้น และได้เสด็จไปเปิดปฐมฤกษ์เมื่อวันวิสาขบุรฌมีที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2485 และได้ทรงแต่งตั้งพระมหาเถรานุเถระในสังฆสภาให้ดำรงตำแหน่งตามบทแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช 2484 โดยครบถ้วน เพื่อบริหารศาสนกิจให้วัฒนาถาวรสืบไป

ทรงมรณภาพในปี พ.ศ.2487

          ในระยะต่อมา พระองค์ทรงพระประชวรโรคชราระเสาะกระแสะเรื่อยๆ มา แต่เพราะพระทัยของพระองค์เข้มแข็งยิ่งนักประกอบด้วย ได้แพทย์ผู้สามารถถวายการพยาบาล จึงมีพระอาการทรงอยู่ได้ตลอดมา จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราข 2487 ได้เริ่มประชวร เพราะพระโรคเดิมอีก แพทย์ได้ถวายการพยาบาลจนสุดความสามารถ พระอาการโรคได้ทรุดหนักลงทุกวันจนถึงวันที่ 26 เดือนเดียวกัน ก็ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ลงเมื่อเวลา 3.00 น. ที่ตำหนักวัดสุทัศนเทพวราราม สิริพระชนมายุ 89 โดยมีพระพรรษา 66 ทรงดำรง ตำแหน่งสกลสังฆปรินายกได้ 7 พรรษาได้รับพระราชทานน้ำสรงพระศพและโกศพระลองกุดั่นน้อย ประกับพุ่มเฟื่องเครื่องสูง 5 ชั้น เครื่องประโคมสังข์แตร จ่าปี่ จ่ากลองและ กลองชนะ มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมประจำพระศพและรับพระราชทานฉัน 15 วัน ประดิษฐานพระศพ 15 วัน แล้วทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทักษิณานุปทานในสัตตวารที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระลองกุดั่นใหญ่และจัดการพระราชทานเพลิงพระศพเป็นการหลวง ณ สุสานหลวงวัดเทพสิรินทราวาส วัน พุธที่  14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
   ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

   พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก(1-69) เหรียญไข่เล็กหลังยันต์พุท-ธะ-สัง-มิเนื้อเงินสวยเกจิยุคเก่าพศ2490จ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปัตตานี (1-59) เหรียญเม็ดแตงบล็อกหน้าผาก3เส้นหนังสือเลยหูปี06เนื้ออัลปาก้าสวย.. 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง(9-23) พิมพ์มารวิชัยเนื้อดินเผาพระส่งประกวดติดโบว์รังวัลที่3ที่ตั้งฮั่วเส้งธนบุรีจ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง(1-59) ตะกรุดแกนฝาบาตรขนาดยาว2.5นิ้วถักเชือกขึ้น4เสาจุ่มรักแดงจ.นนทบุรี 

โทรถาม บาท


พระคง กรุวัดคงฤาษี จลำพูน(2-31) เนื้อดินเผาเนื้อหาสีเหลืองพิกุลแห้งฟอร์มพระใบโพธิ์เด้งชัดลึกดีครับ 

โทรถาม บาท


เจ้าคุณศรี-สนธิ์ วัดสุทัศน์ฯกทม(6-33) เหรียญหล่อพระประจำวันพิมพ์นาคปรกวันเสาร์นิยมสุดเนื้อทองผสมพศ2494 

โทรถาม บาท


พระเนื้อผง วัดท้ายตลาด(4-21) พิมพ์พุทธกวักเนื้อผงผสมใบลานกลุ่มพิมพ์นิยมมาพร้อมกับคราบไขกรุ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง(1) พระปิดตาพิมพ์ตะพาบเข่ากว้าง-สะดือจุ่นเนื้อผงจุ่มรักยุคต้นพศ2495จ.นนทบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณฯ(1) ลูกอมเนื้อเมฆพัดเกจิยุคเก่ารุ่นเล่นแร่แปรธาตุเคล็ด-กลับร้ายกลายเป็นดี 

26,000 บาท


พระพุทธชินราชอินโดจีน กทม(5-350) พิมพ์ต้อบัวเล็บช้างเนื้อทองผสมฟอร์มพระดีมากฯเทหล่อได้ล่ำบึกมีโค๊ต 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ (1) สิงห์งาแกะศิลป์คอม้าหัวมังกรพิมพ์มาตราฐานที่เล่นหากันจ.สุพรรณบุรี 

11,500 บาท


พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง(2-320) พลายคู่ตัดเดียวหน้ามงคลกลางฟอร์มพระดีมากหน้าตาติดชัดจ.สุพรรณบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ่างทอง (0-52) เหรียญหล่อสมเด็จมีหูพิมพ์แหลมเนื้อทองผสมติดที่3งานศูนย์ราชการกทม 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว (4-390) เหรียญหล่อนาคปรก5เนื้อทองผสมติดรังวัลที่2ศูนย์ราชการงานของสมาคมฯ 

โทรถาม? บาท


พระอู่ทองฐานผ้าทิพย์ กรุวัดเทวสังฆาราม เนื้อชินเงินขึ้นกรุมาพร้อมกับพระท่ากระดาน1ใน5ชุดยอดขุนพลเนื้อชิน 

17,000 บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
   เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด