พระเครื่องทั้งหมด 469 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
   ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (50) พระเนื้อดิน (29) พระเนื้อชิน (4) พระเนื้อผง (0) พระกริ่ง (0) พระรูปหล่อ (17) พระเหรียญ (61) เหรียญหล่อ (39) พระปิดตา (0) พระบูชา (0) เครื่องราง (31)
   เมนูช่วยเหลือ
วิธีการชำระเงิน
เงื่อนไขการรับประกัน
ติดต่อเรา
   สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 469 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 231 ชิ้น
   บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
  รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
  ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย
หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม
หลวงปู่สวน วัดนาอุดม
หลวงปู่หมุน วัดเขาแดงตะวันตก
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
หลวงพ่อนก วัดสังกะสี
หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
ครูบาหล้า วัดป่าตึง
พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์
หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง
หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


พระเครื่องทามอมูเล็ตดอทคอม

มาดูพระดอทคอม

พระหลวงตา

ตือ (เจริญ) ท่าพระจันทร์

แป๊ะ บางกะพร้อม

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน / ผู้เข้าชม : 5258 คน
ข้อมูลประวัติพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช

          พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์" นามตามสมณศักดิ์ท่านคือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
           พ่อท่านคล้าย นามเดิมว่า "คล้าย สีนิล" เกิดตรงกับ วันที่27ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็งเป็นภรรยานายซ้าย เพ็ชรฤทธิ์ ไม่มีบุตรสืบสกุลแต่มีบุตรบุญธรรมหนึ่งคน ชื่อนายครื้น เพ็ชรฤทธิ์

          พ่อท่านคล้าย มีลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก

          เมื่ออายุ ๑๕ ปี หลวงพ่อคล้าย ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ พ่อท่านคล้าย

          ขาของพ่อท่านคล้ายนั้นเสียข้างหนึ่ง คือ ขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป  (เสียตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดนต้นไม้ทับที่บ้านญาติของท่านที่ จ.กระบี่ ขาเป็นหนองเลยต้องตัดทิ้ง โดยท่านใช้มีดปาดตาลตัดเอง) ท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่แทน

รูปหลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์

          พ่อท่านคล้าย ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจันเจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพ่อท่านสามารถท่อง พระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ

พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ พระเกจินครศรีธรรมราช
          ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.2439 ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) วัดวังม่วง โดยมีพระอาจารย์กราย คังคสุ วัณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สังข์ สิริรตโน เจ้าอาวาสวัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทอง ปทุมสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดวังม่วงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีพระอาจารย์ล้อม ถิรโชโต เป็นผู้ให้สรณคมน์และศีล ได้รับฉายาว่า จันทสุวัณโณ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี
          การศึกษาเบื้องต้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้าน โดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวณ และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาศึกษาต่อในสำนักนายขำ ที่วัดทุ่งปอน บ้านโคกทือ จนจบหลักสูตร ต่อมาได้ไปฝึกหัดเล่นหนังตะลุงกับนายทองสาก ประกอบกับพ่อท่านคล้ายมีหน้าตาดี น้ำเสียงไพเราะ จึงมีคนติดใจการเล่นหนังตะลุงของท่านมาก

          ต่อมาปี พ.ศ.2441 พ่อท่านคล้าย ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เรียนมูลกัจจายนะ ในสำนักพระครูกาแก้ว (ศรี) ณ วัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบหลักสูตรมูล พอแปลบาลีได้ ศึกษาอยู่เป็นเวลา 2 พรรษา

          ปี พ.ศ.2443 ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน

          ปี พ.ศ.2445 พ่อท่านคล้าย ได้กลับมาอยู่จำพรรษาวัดหาดสูง ใกล้ตลาดทานพอ ในสำนักพระครูกราย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพ่อท่าน เพื่อศึกษาวิปัสสนาและไสยศาสตร์ โดยเหตุที่พระครูกราย เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาและทรงวิชาคุณทางไสยศาสตร์ในสมัยนั้น

          ปี พ.ศ.2447 พ่อท่านคล้าย ได้ไปจำพรรษาที่วัดมะขามเฒ่า อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาภาลีและอภิธรรมเพิ่มเติม

          ปีพ.ศ.2448 พ่อท่านกลับจากวัดมะขามเฒ่า มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน (จันดี) ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษา ณ ที่ใดก็ตาม ท่านได้ศึกษาค้นคว้าภาษา บาลี วิชาโหราศาสตร์ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ติดต่อกันมาโดยมิได้ประมาท ด้านการก่อสร้างก็ได้สร้างใว้ตามวัดต่างๆพอสมควร

          พ่อท่านคล้าย เป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ในปี พ.ศ.2448 พระปลัดคง เจ้าอาวาสวัดสวนขัน ลาสิกขาบท คณะอุบาสกอุบาสิกาของวัดสวนขัน ได้ร่วนกันเสนอไปยัง ท่านพระครูกรายเจ้าคณะแขวงฉวาง ขอแต่งตั้ง"พ่อท่านคล้าย"เป็นเจ้าอาวาส วัดสวนขันแทน ท่านพระครูกรายก็เสนอไปยังเจ้าคณะเมือง (ม่วง เปรียญ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณพระศิริธรรมมุนี เจ้าคณะเมือง ได้แต่งตั้งให้พ่อท่านคล้ายเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขันแต่นั้นมา

พ่อท่านคล้าย กับศรัทธาชาวบ้าน

          สมณศักดิ์พ่อท่านคล้าย
          ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย
          ตำแหน่ง
          - ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ จนมรณภาพ
          - เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ.๒๕๐๐ เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว

งานด้านศาสนา
          พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่น สร้างวัด พ่อท่านคล้ายเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐ ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดิน และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย วัดพระธาตุน้อย 

พ่อท่านคล้าย สร้างวัดพระธาตุน้อยและเจดีย์

          ปี พ.ศ.2505 นายกลับ งามพร้อม อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่9 ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง ได้ยกที่ดินโคกไม้แดง มีเนื้อที่40ไร่ ถวายพ่อท่านโดยมอบให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ที่ดินแปลงนี้อยู่ใกล้สถานีรถไฟคลองจันดี ประมาณ1กิโลเมตร พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นในที่ดินแปลงนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อ 14 มกราคม 2505 ตรงกับวันขึ้น 9ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่นายประคอง ช่วยเพ็ชร ถวายมาจากกว๊านพะเยา (ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา) โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด ทุนรอนในการก่อสร้างได้มาจาก พ่อค้า คหบดี ข้าราชการ และประชาชน ฝ่ายสงฆ์มีพระใบฏีกาครื้น โสภโณ เจ้าอาวาสวัดจันดีในสมัยนั้น เป็นผู้อำนวยการสร้าง ฝ่ายฆราวาสมี พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ ราชเดช เป็นประธาน พระเจดีย์องค์นี้มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ27เมตร สูง 70เมตร การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ องค์พระเจดีย์ มองเห็นเด่นแต่ไกล ถ้านั่งรถไฟเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ก่อนขบวนรถจะถึงสถานีคลองจันดี จะมองเห็นพระเจดีย์อยู่ทางซ้ายมือ
          พ่อท่านคล้ายได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร

งานด้านพัฒนาท้องถิ่น
          พ่อท่านคล้าย จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น

สร้างถนนเข้าวัดจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน

ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปนาแว

ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย

สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขัน

สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว

สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม

สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น

พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน

ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

          ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุข เป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย 

          คนที่ไปนมัสการ"พ่อท่านคล้าย"หวังที่จะได้วัตถุมงคล พระเครื่อง บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด
พ่อท่านคล้าย ณ วัดธาตุน้อย

          พ่อท่านคล้ายมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ..ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้ บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในสัตตมวาร หรือพระเจดีย์น้อยวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน ท่านเป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก เช่น สร้างวัดมะปรางงาม ต.ละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. 2490 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอน จึงสร้าง วัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย ท่านได้สร้างเจดีย์องค์ ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุ การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 2513 ท่านได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลาย องค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ต.นาแว อ.ฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร ท่านได้รับการขนานนามว่า "พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์" คนทั่วไปต่างเชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา ของท่านว่าพูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านจะพูดจา กับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
   ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

   พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก(1-69) เหรียญไข่เล็กหลังยันต์พุท-ธะ-สัง-มิเนื้อเงินสวยเกจิยุคเก่าพศ2490จ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปัตตานี (1-59) เหรียญเม็ดแตงบล็อกหน้าผาก3เส้นหนังสือเลยหูปี06เนื้ออัลปาก้าสภาพสวย 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง(9-23) พิมพ์มารวิชัยเนื้อดินเผาพระส่งประกวดติดโบว์รังวัลที่3ที่ตั้งฮั่วเส้งธนบุรีจ.อยุธยา 

โทรถาม บาท


หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง(1-59) ตะกรุดแกนฝาบาตรขนาดยาว2.5นิ้วถักเชือกขึ้น4เสาจุ่มรักแดงจ.นนทบุรี 

โทรถาม บาท


พระคง กรุวัดคงฤาษี จลำพูน(2-31) เนื้อดินเผาเนื้อหาสีเหลืองพิกุลแห้งฟอร์มพระใบโพธิ์เด้งชัดลึกดีครับ 

โทรถาม บาท


เจ้าคุณศรี-สนธิ์ วัดสุทัศน์ฯกทม(6-33) เหรียญหล่อพระประจำวันพิมพ์นาคปรกวันเสาร์นิยมสุดเนื้อทองผสมพศ2494 

โทรถาม บาท


พระเนื้อผง วัดท้ายตลาด(4-21) พิมพ์พุทธกวักเนื้อผงผสมใบลานกลุ่มพิมพ์นิยมมาพร้อมกับคราบไขกรุ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง(1) พระปิดตาพิมพ์ตะพาบเข่ากว้าง-สะดือจุ่นเนื้อผงจุ่มรักยุคต้นพศ2495จ.นนทบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณฯ(1) ลูกอมเนื้อเมฆพัดเกจิยุคเก่ารุ่นเล่นแร่แปรธาตุเคล็ด-กลับร้ายกลายเป็นดี 

26,000 บาท


พระพุทธชินราชอินโดจีน กทม(5-350) พิมพ์ต้อบัวเล็บช้างเนื้อทองผสมฟอร์มพระดีมากฯเทหล่อได้ล่ำบึกมีโค๊ต 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ (1) สิงห์งาแกะศิลป์คอม้าหัวมังกรพิมพ์มาตราฐานที่เล่นหากันจ.สุพรรณบุรี 

11,500 บาท


พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง(2-320) พลายคู่ตัดเดียวหน้ามงคลกลางฟอร์มพระดีมากหน้าตาติดชัดจ.สุพรรณบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ่างทอง (0-52) เหรียญหล่อสมเด็จมีหูพิมพ์แหลมเนื้อทองผสมติดที่3งานศูนย์ราชการกทม 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว (4-390) เหรียญหล่อนาคปรก5เนื้อทองผสมติดรังวัลที่2ศูนย์ราชการงานของสมาคมฯ 

โทรถาม? บาท


พระอู่ทองฐานผ้าทิพย์ กรุวัดเทวสังฆาราม เนื้อชินเงินขึ้นกรุมาพร้อมกับพระท่ากระดาน1ใน5ชุดยอดขุนพลเนื้อชิน 

17,000 บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
   เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด