พระเครื่องทั้งหมด 409 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
   ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (34) พระเนื้อดิน (26) พระเนื้อชิน (4) พระเนื้อผง (0) พระกริ่ง (0) พระรูปหล่อ (15) พระเหรียญ (51) เหรียญหล่อ (31) พระปิดตา (0) พระบูชา (0) เครื่องราง (23)
   เมนูช่วยเหลือ
วิธีการชำระเงิน
เงื่อนไขการรับประกัน
ติดต่อเรา
   สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 409 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 0 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 184 ชิ้น
   บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
  รับข่าวสารผ่าน SMS
หมายเลขโทรศัพท์

สมัคร ยกเลิกการรับข่าว
  ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย
หลวงปู่โถม วัดธรรมปัญญาราม
หลวงปู่สวน วัดนาอุดม
หลวงปู่หมุน วัดเขาแดงตะวันตก
หลวงปู่กรับ วัดโกรกกราก
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
หลวงพ่อนก วัดสังกะสี
หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
ครูบาหล้า วัดป่าตึง
พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์
หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง
หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


พระเครื่องทามอมูเล็ตดอทคอม

มาดูพระดอทคอม

พระหลวงตา

ตือ (เจริญ) ท่าพระจันทร์

แป๊ะ บางกะพร้อม

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง / ผู้เข้าชม : 9748 คน
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง อยุธยา

          หลวงพ่อเชิญ เกิดในตระกูล กุฎีสุข ที่หมู่บ้านดงตาล ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2450 มีโยมบิดาชื่อ นายเคลือบ โยมมารดาชื่อ นางโล่ โดยที่หลวงพ่อเชิญเป็นบุตรของพี่น้องทั้งหมด 3 คน น้องสองคนเป็นฝาแฝดหญิงทั้งคู่ ชื่อ นางเจียม และ นางจอม

          เมื่อหลวงพ่ออายุได้ 5 ขวบ โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม จึงต้องอยู่ในความเลียงดูของโยมบิดาแต่ผู้เดียว ยามใดที่โยมบิดาไปทำไร่ไถนา ท่านต้องรับภาระเลี้ยงดูน้องสาวฝาแฝดแทนถึง 2 คน นับเป็นความยากลำบากมากทีเดียว เพราะขณะนั้นท่านเองเพิ่งจะมีอายุ 5-6 ขวบเท่านั้น

          เมื่อท่านอายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาพาไปฝาก หลวงพ่อขาบ วัดฤาชัย ที่ตำบลกุฎี ในอำเภอผักไห่ อันเป็นถิ่นกำเนิดของโยมบิดา เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ โดยที่หลวงพ่อเชิญเล่าเรียนหนังสืออยู่กับหลวงพ่อขาบ 2 ปี จนสามารถอ่านออกเขียนได้พอสมควร

          หลวงพ่อขาบขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลกุฎี เห็นว่าหลวงพ่อเชิญเป็นเด็กดี ขยันหมั่นเพียร เฉลียวฉลาดและว่านอนสอนง่าย จึงนำไปฝาก พระครูบวรสังฆกิจ หรือ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอเสนา

          หลวงพ่อเพิ่มองค์นี้เป็นพระอาจารย์ที่มีความรู้ด้านปริยัติธรรมสูงส่ง เชี่ยวชาญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพียงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรเคร่งครัดพระธรรมวินัย นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนโบราณ และเรืองวิทยาคมขลัง เนื่องจากเป็นศิษย์หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อีกด้วย

          ดังนั้นหลวงพ่อเพิ่มจึงมีชื่อเสียงด้านแก้คุณแก้การกระทำทางไสยศาสตร์และรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ชื่อเสียงของหลวงพ่อเพิ่มสมัยนั้นจึงโด่งดังไม่ต่างกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่มีอายุแก่กว่าหลวงพ่อเพิ่ม 5 ปี

          ในสมัยนั้นหลวงพ่อปานท่านมาพำนักที่วัดโคกทองเสมอ เมื่อปี พ.ศ.2467 หลวงพ่อเพิ่มสร้างศาลาการเปรียญ หลวงพ่อปานยังมาช่วยยกเสาเอกให้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเพิ่มไม่เคยสร้างพระเครื่องไว้เลย ชนรุ่นหลังจึงไม่มีใครรู้จักท่าน

          สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงพ่อเพิ่มทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์เพียงอย่างเดียวคือ แผ่นอิฐลงอาคมที่ก้นบ่อน้ำมน 2 แผ่น อีกแผ่นหนึ่งเป็นของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งกล่าวกันว่าน้ำมนต์ในบ่อนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อเชิญท่านนำมารดให้กับลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอ

          บรรพชาและอุปสมบท หลวงพ่อเชิญมาอยู่วัดโคกทองคอยรับใช้หลวงพ่อเพิ่มอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติหน้าที่การงานอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความวิริยะอุตสาหะและเชื่อฟังคำสั่งสอนของหลวงพ่อเพิ่มเป็นอย่างดี

          หลวงพ่อเชิญบรรพยาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 16 ปี ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2466 หลวงพ่อเพิ่มเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทต่อโดยมิได้ลาสิกขา ณ พัทธสีมาวัดโคกทอง ในวันที่ 1 มิถุนายน 2470 โดยมีพระอาจารย์องค์แรกคือ หลวงพ่อขาบ วัดฤาไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดแจ่ม วัดโคกทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลีจากพระอุปัชฌาย์ว่า ปุญญสิริ

          การศึกษาและพระปริยัติธรรม หลวงพ่อเชิญอุปสมบทอุปสมบทแล้วอยู่ช่วยหลวงพ่อเพิ่มบูรณะวัดโคกทองเรื่อยมา พร้อมกันนั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมโดยสอบได้นักธรรมตรีตั้งแต่เมื่อยังเป็นสามเณรในปี พ.ศ.2469 แล้วสอบได้นักธรรมโทในปีแรกที่อุปสมบท และอีก 8 พรรษาต่อมาจึงสอบได้นักธรรมเอก

          สาเหตุที่หลวงพ่อเชิญสอบได้นักธรรมเอกช้า เนื่องจากไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เพราะเอาเวลาส่วนใหญ่ช่วยงานหลวงพ่อเพิ่มในการบูรณะพัฒนาวัดด้วยความอุตสาหะ ในปี พ.ศ.2474 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมที่ พระสมุห์เชิญ

          ปี พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมเอก พร้อมกับได้รับการแ่ต่งตั้งเป็น พระปลัด ในปี พ.ศ.2480 ท่านจึงต้องทำหน้าที่ทุกอย่างแทนหลวงพ่อเพิ่ม ปฏิบัติภารกิจในตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะอำเภอเสนา ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับแขก ดูแลพระภิกษุสามเณรภายในวัด และเป็นผู้จัดสถานที่ให้กับคนเจ็บที่มารักษาตัว

          แม้แต่ศาสนกิจนอกวัดเกี่ยวกับราชการคณะสงฆ์ เทศนาตามกิจนิมนต์ หรือการเข้าประชุมตามพระเถระกำหนด และออกตรวจตราตามบริเวณวัดและสอบนักธรรมสนามหลวง ภารกิจเหล่านี้ตกอยู่กับท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้น นับเป็นภารกิจที่หนักมาก แต่หลวงพ่อเชิญก็สามารถปฏิบัติด้วยความเรียบร้อยเสมอมาจวบจนหลวงพ่อเพิ่มถึงแก่กาลมรณภาพในปี พ.ศ.2491

 พ.ศ.2491 รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโคกทอง
 พ.ศ.2492 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคกทอง
 พ.ศ.2505 เป็นเจ้าคณะตำบลกุฎี และเป็นพระกรรมวาจาจารย์
 พ.ศ.2509 เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์
 พ.ศ.2511 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ราชทินนามที่ พระครูวิชัยประสิทธิคุณ
 พ.ศ.2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
 พ.ศ.2522 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
 พ.ศ.2524 สำนักนายกรัฐมนตรี ถวายพัดชั้นพิเศษในฐานะที่เป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดโคกทอง (บวรวิทยา)
 พ.ศ.2532 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ประทานพัดพัฒนาที่มีผลงานดีเด่นแก่หลวงพ่อเิชิญ

          การศึกษาพระเวทวิทยาคม หลวงพ่อเชิญเป็นพระอาจารย์ที่มีมากครูมากอาจารย์ เพราะท่านมีใจรักทางด้านพระเวทวิทยาคมมากกว่าการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม เมื่อได้รับการปูพื้นฐาน โดยที่ หลวงพ่อเพิ่ม เป็นพระอาจารย์องค์แรกที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ อาทิ

          การศึกษาอักษรสมัยทั้งภาษาไทยและภาษาขอม การท่องบ่นมนต์คาถา การลงอักขระเลขยันต์ แพทย์แผนโบราณ ยาแก้กันกระทำคุณไสย์ นั่งเจริญสมาธิภาวนาพระกรรมฐาน ตลอดทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน มาตั้งแต่หลวงพ่อเชิญมีอายุเพียง 10 ขวบ

          ในคราวที่บวชเณรแล้วได้ติดตามหลวงพ่อเพิ่มไปซื้อซุงที่ชัยนาท ได้ไปกราบนมัสการ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อเชิญจึงโชคดีได้วิชาบางประการมาจากพระปรมาจารย์อันยิ่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงเกรียงไกรอย่างหลวงปู่ศุข

          เมื่ออุปสมบทในพรรษาแรกก็ไปขึ้นพระกรรมฐานกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก แล้วเดินทางไป ๆ มา ๆ ร่ำเรียนวิชากับหลวงพ่อจงมากมายเป็นระยะเวลาหลายปี

          หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค สหายทางธรรมของหลวงพ่อเพิ่ม ชอบมาพำนักที่วัดโคกทอง หลวงพ่อเชิญก็ฝากตัวเป็นศิษย์คอยปรนนิบัติรับใช้แล้วติดตามพายเรือไปส่งและพักเรียนวิชาที่วัดบางนมโคเป็นประจำ

          ในปี พ.ศ.2473 หลวงพ่อเพิ่มพาท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์อีกรูปหนึ่งของท่านคือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อกลั่นชราภาพมากแล้ว

          ในปี พ.ศ.2482 หลวงพ่อเชิญเกิดอาพาธด้วยโรคตาอักเสบจึงเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อพักรักษาตัวอยู่กับ หลวงปู่กล้าย วัดหงษ์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เลยได้รับการแนะนำวิชาการต่าง ๆ จากหลวงปู่กล้ายอีกรูปหนึ่ง

          ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เวลานั้นวัสดุก่อสร้างขาดแคลน การบูรณะวัดก็หยุดชะงักลง หลวงพ่อเชิญจึงถือโอกาสเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณว่าด้วยสาขาเวชกรรมกับ ครูนพ ที่โรงเรียนประทีป ตลาดพลู เป็นเวลา 2 ปีด้วยกัน

          นอกจากนั้นยังมีพระอาจารย์เรืองวิชาที่มีชื่อเสียงในอยุธยาที่หลวงพ่อเชิญเคยไปขอศึกษาวิชามาก็มี หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน หลวงพ่อแจ่ม วัดบัวหัก และหลวงพ่อแพ วัดกลางคลอง ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระอาจารย์ยุคเก่าที่เรืองวิชาทั้งสิ้น


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
   ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

   พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค เหรียญระฆังสช.สั้นเนื้ออาปาก้าสภาพผิวเหรียญสวยมากหรือผิวกระจก 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อแก้ว วัดละหารไร่ (1-180) เหรียญปิดตาลพ.แก้วเกสาโรเนื้อทองแดงผิวไฟส้มฯสวยพศ2519จ.ระยอง 

โทรถาม บาท


พระเนื้อผงกรุวัดท้ายตลาด(4-230) พิมพ์พุทธกวักเนื้อผงผสมใบลานกลุ่มพิมพ์นิยมมาพร้อมกับคราบไขกรุ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี พระปิดตาพิมพ์ตะพาบเข่ากว้าง(สะดือจุ่น)เนื้อผงยุคต้นนิยมสร้างพศ2495 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี พิมพ์สมเด็จ-ขุนแผนแหวกม่านช่างแกะกลุ่มช่างหลวงเนื้องาแห้งเก่า 

โทรถาม บาท


เจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ (4) เหรียญหล่อพระประจำวันพิมพ์ปางห้ามญาติ(วันจันทร์)เนื้อทองผสมพศ2494 

18,000 บาท


หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณ ลูกอมเนื้อเมฆพัดเกจิยุคเก่ารุ่นเล่นแร่แปรธาตุเคล็ด-กลับร้ายกลายเป็นดี 

26,000 บาท


พระพุทธชินราชอินโดจีน กทม(5-330) พิมพ์ต้อบัวเล็บช้างเนื้อทองผสมฟอร์มพระดีมากฯเทหล่อได้ล่ำบึกมีโค๊ต 

โทรถาม บาท


พระขุนแผน วัดบ้านกร่าง(2-320) พลายคู่ตัดเดียวหน้ามงคลกลางฟอร์มพระดีมากหน้าตาติดชัดจ.สุพรรณบุรี 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อโต กรุบางกระทิง (2) พิมพ์ปางสมาธิเนื้อดินเผาลงรักปิดทองเก่าเลี่ยมเงินจ.อยุธยา
 

15,000 บาท


หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ่างทอง (0-570) เหรียญหล่อสมเด็จมีหูพิมพ์แหลมเนื้อทองผสมติดที่3งานประกวดงานใหญ่กทม 

โทรถาม? บาท


หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว (4-390) เหรียญหล่อนาคปรก5เนื้อทองผสมติดรังวัลที่2งานประกวดของสมาคมฯ 

โทรถาม? บาท


พระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีน(4-310) พิมพ์สังฆฏิยาวหน้าCตอกโค๊ตเนื้อโลหะผสมสร้างช่วงพศ2485กทม 

โทรถาม บาท


เจ้าคุณศรี(สนธ์) วัดสุทัศน์ฯ(1) เหรียญหล่อพระประจำวันพิมพ์ขัดสมาธิเพชรอุ้มบาตรเนื้อทองผสมจ.กทม 

17,000 บาท


เหรียญหล่อหลวงพ่อวัดเขาตะเครา(3) พิมพ์พระพุทธชินราชหลัง12นักกษัตร์ปีแพะเนื้อทองผสมพศ2488จ.เพชรบุรี 

29,000 บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
   เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด